วิธีในการพูดคุยกับคนที่คุณรักที่เป็นโรคซึมเศร้า

พูดคุยเพื่อสนับสนุนผู้ที่เผชิญกับโรคซึมเศร้าด้วยความอบอุ่นและเข้าใจ สร้างความหวังและช่วยให้รู้ว่าไม่เคยโดดเดี่ยวในความรู้สึก
คุยกับคนที่คุณรักที่เป็นโรคซึมเศร้า

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

“โรคซึมเศร้า” เป็นหนึ่งในความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จากการวิจัยในปี 2021 องค์การอนามัยโลกประเมินว่า 5% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ดังนั้น ถ้าวันในวันนี้มีคนที่คุณรัก มีคนที่ห่วงใยคุณห่วงใยเป็นโรคซึมเศร้า การให้ความช่วยเหลือด้านการพูดคุย ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วย support เสริมกำลังใจให้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้

ถึงแม้อาจจะไม่ได้เป็นวิธีรักษาโรคโดยตรง แต่อย่างน้อยก็เป็นการสื่อสารที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับรู้ว่าตัวเองไม่ได้โดดเดี่ยว ยังมีคนที่เป็นห่วงใย ซึ่งกำลังใจเล็ก ๆ ในวันที่ชีวิตหดหู่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก นอกจากนี้จากการวิจัยในปี 2017 ได้แสดงให้เห็นว่า โอกาสที่จะเกิดภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะลดลง ถ้าผู้ที่เสียขวัญกำลังใจ ได้แรงสนับสนุนจากคนที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะแรงสนับสนุนจากครอบครัว หรือคนที่รัก

ถ้ามีคนที่คุณกำลังเป็นห่วง แต่ภาวะอารมณ์ของเขากำลังอยู่ในช่วงเปราะบางถึงขีดสุด วันนี้อูก้าก็จะมาแนะนำเคล็ดลับในการสื่อสารความห่วงใยของคุณให้ส่งตรงถึงใจผู้ที่ป่วยเป็นโรคภาวะซึมเศร้าได้อย่างถูกต้องกัน

ทอร์คจากใจสู่ใจ ส่งความห่วงใย สู่คนที่เป็นโรคซึมเศร้า

อันดับแรกคุณต้องแสดงให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเห็นว่า คุณแคร์เขาจริง ๆ พร้อมรับฟัง ยินดีช่วยเหลือ และพร้อมอ้าแขนรับทุกเรื่องราวแบบไม่ตัดสิน เน้นการฟังมากกว่าพูด และลองทำตามคำแนะนำของอูก้าดังนี้

1. คุณต้องการที่ระบายหรือไม่?

“มีไหล่เอาไว้ให้ซบ มีมุมให้เธอได้พัก” ห้ามคะยั้นคะยอหรือตื้อให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าเล่าเรื่องราวอย่างเด็ดขาด หน้าที่ของคุณคือ เพียงแค่ยื่นข้อเสนอไปว่า มีเรื่องต้องการระบายหรือไม่ ต้องการคนรับฟังหรือเปล่า ถ้าวันนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ายังไม่พร้อมที่จะเล่าเรื่องราวใด ๆ “ไม่เป็นไร” เพียงแค่ตอบไปว่า ไว้ถ้าอยากเล่าเมื่อไหร่คุณก็พร้อมรอฟังอยู่ตรงนี้เสมอ

2. สิ่งที่ไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า

นอกเหนือไปจากการใส่ใจถึงวิธีพูดที่จะเจาะใจไปสู่ผู้ป่วยแบบละมุนละม่อมแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีประโยคหรือคำต้องห้ามที่ห้ามพูดเด็ดขาด! เพราะคำพูดเหล่านี้เปรียบเสมือนกับมีดที่มีความแหลมคม ยิ่งพูดยิ่งทำให้ใจของผู้ป่วยเกิดแผลมากขึ้นเข้าไปอีก

  • “คิดถึงแต่เรื่องดี ๆ ซิ ฉันไม่เข้าใจว่าคุณเสียใจเรื่องอะไรหนักหนา”
  • “ทุกอย่างจะเรียบร้อย ฉันสัญญา”
  • “เม็นจะมารึเปล่า”
  • “มีคนมากมายที่แย่กว่าคุณ”
  • “เรียกร้องความสนใจรึเปล่า”
  • และอื่น ๆ ที่เป็นประโยคเชิงเปรียบเทียบ
 

3. แนะนำให้ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์

อาการซึมเศร้าเป็นภาวะทางการแพทย์ ไม่ใช่ข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน  ดังนั้นในกรณีที่คนที่คุณรักมีภาวะซึมเศร้า มีความรู้สึกที่ไม่โอเค มีความเครียด หรือมีอาการดิ่งทางจิตใจต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการระบายให้คนที่ไว้ใจได้รับฟังแล้ว อีกหนึ่งคำแนะนำที่มีความสำคัญก็คือ การชักชวนหรือแนะนำให้ผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้าไปปรึกษากับจิตแพทย์และพยายามลบล้างภาพในอดีตที่ว่า คนที่ไปหาจิตแพทย์จะต้องเป็นบ้า มีอาการคุ้มคลั่ง มีอาการจิตเภท มีอาการผิดปกติ ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์ได้ ไม่ว่าจะมีอาการนอนไม่หลับ มีภาวะความเครียด มีอาการแพนิค หรืออาการทางจิตด้านอื่น ๆ ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับการที่คุณป่วย ไม่สบายตัวร้อนไข้ขึ้น แล้วก็ไปหาคุณหมอเพื่อรับยามาทานนั่นแหละ

4. คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว 

“you are not alone I am here with you” อาการซึมเศร้า เป็นหนึ่งในภาวะที่ไม่สมบูรณ์ทางจิตที่หลาย ๆ คนกำลังประสบพบเจออยู่แต่ไม่รู้ตัว จากข้อมูล การสำรวจสุขภาพแห่งชาติปี 2019 แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้พบว่า ประมาณ 4.7% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ มีอาการซึมเศร้า แต่หลาย ๆ คนไม่รู้ตัว และไม่อาจขอความช่วยเหลือจากใครได้

อาการซึมเศร้าจะทำให้หลายคนรู้สึกโดดเดี่ยว อยากเฟดตัวออกมาจากสังคมและยิ่งดิ่งลึกเมื่ออยู่คนเดียวในห้องมืด ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะไม่เคยมีอาการดิ่งลึกขนาดนี้มาก่อน แต่คุณก็สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าได้ด้วยการบอกพวกเขาว่า “คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว มีคนที่รักและเป็นห่วงอีกมากมาย”

ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย

ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หมดความสนใจ หรือหงุดหงิด ล้วนแล้วแต่เป็นอารมณ์ที่บ่งชี้ว่า ใครบางคนกำลังคิดจะฆ่าตัวตาย ซึ่งผู้ป่วยอาจแสดงอารมณ์เหล่านี้ได้ ตั้งแต่ 1 อารมณ์ขึ้นไป อาการซึมเศร้าถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือไม่ได้รับการวินิจฉัย (มีภาวะซึมเศร้าแต่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว) สิ่งนี้จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

สุดท้ายแล้วอาจไม่มีคำพูด หรือคำตอบที่ตายตัวว่าคุณควรที่จะพูดกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างไร เพราะว่าผู้ป่วยแต่ละคนก็มีความสนใจ และมีเรื่องราวภูมิหลังที่แตกต่างกัน แต่คำแนะนำที่ดีที่สุดที่อูก้าจะมอบให้ได้ก็คือ อย่าเปรียบเทียบตัวผู้ป่วยกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านดีหรือด้านไม่ดีก็ตาม และอย่าใช้คำพูดที่บ่งบอกว่าอาการที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่นี้เป็นอาการที่ชิว ๆเดี๋ยวก็หาย เพราะสำหรับบางคนอาจจะมีความทุกข์ มีความคิดในแง่ลบดิ่งลึกมากกว่าที่คุณคิด

ดังนั้น อูก้า ขอแนะนำ 2 ประโยคที่ใช้ได้ค่อนข้างดีนั่นก็คือ การเสนอความช่วยเหลือพร้อมเป็นที่ระบาย เป็นผู้รับฟังที่ดีแบบไม่ตัดสิน และอีกประโยคก็คือการซัพพอร์ตจิตใจของผู้ป่วย ด้วยการเน้นย้ำให้ผู้ป่วยได้จดจำไว้เสมอว่า ไม่ว่าจะเกิดความเลวร้ายอันใดขึ้น ผู้ป่วยก็ไม่ได้อยู่คนเดียว ยังมีคนที่เป็นห่วง มีคนที่รักอีกมากมาย หรืออย่างน้อย ๆ ก็ยังมีคุณ

แชร์บทความนี้ ให้คนที่ห่วงใย

OOCA
OOCA
บทความด้านสุขภาพจิตหลากหลายด้าน เป็นคลังความรู้ให้คุณได้อ่านและพร้อมรับมือกับทุกปัญหา
สนใจปรึกษานักจิตวิทยา
แบบนั่งคุยจากที่บ้าน
ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลย
อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ!
แอดเลย Line Official
Psychopaths

โรคไซโคพาธ (Psychopaths) เข้าใจอาการ และสิ่งที่ต้องระวัง

ค้นหาความรู้เกี่ยวกับโรคไซโคพาธ Psychopaths: อาการ, ลักษณะเฉพาะ, และวิธีการระมัดระวังเมื่อต้องเผชิญกับผู้ที่มีสภาวะนี้ในชีวิตประจำวันของคุณ

ภาวะสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้นคืออะไร ทำความรู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิด และแนวทางรักษา

ค้นพบความรู้เกี่ยวกับภาวะสมาธิสั้น: ทำความเข้าใจและสาเหตุที่เป็นต้นเหตุของโรคทางประสาทในเด็กและผู้ใหญ่ และแนวทางในการรักษา

ขอบคุณที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากเรา

อูก้า เรื่องของใจ ให้เรารับฟัง

ooca It’s okay we’ll listen