เพราะโลกนี้มีความหลากหลายมากกว่าชาย-หญิง LGBTQIAN+

ทำความรู้จักและเข้าใจ “LGBTQIAN+” ต้อนรับ Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เท่าเทียม
LGBTQIAN+

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

ด้วยโลกสมัยใหม่ที่เปิดกว้างขึ้นกว่าที่เคย คำกล่าวนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดขนบธรรมเนียมประเพณีอีกต่อไป เพราะคนรุ่นใหม่เรียนรู้ที่จะเปิดใจยอมรับความหลากหลายมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการแสดงออกทางอัตลักษณ์และตัวตนของบุคคลอื่นมากขึ้น ดังนั้นเรื่องของเพศจึงไม่ได้ถูกขีดกรอบจำกัดไว้แต่เพศกำเนิดแค่ “หญิง” หรือ “ชาย” เหมือนในสมัยก่อนอีกต่อไป แต่เรามีคำเรียกแทนตนและความหมายใหม่ ๆ ให้ใช้เพื่อแสดงความเป็นตัวตนของคนแต่ละกลุ่ม หรืออย่างคำที่เราได้ยินบ่อยครั้งนั่นก็คือ “LGBTQIAN+” 🏳️‍🌈

“LGBTQIAN+” เป็นคำย่อที่ต่างประเทศใช้เรียกกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยคำนี้เป็นการรวมเอาตัวอักษรแรกของคำเรียกอัตลักษณ์ทางเพศของคนแต่ละกลุ่มมารวมกัน ตัวอักษร L G B T Q นั้นย่อมาจากคำว่า Lesbian Gay Bisexual Transgender และ Queer (บางที่อาจจะหมายถึง Questioning) โดย 4 ตัวอักษรแรกนั้นเริ่มใช้มาตั้งแต่ยุค 1990s ก่อนที่จะเพิ่มตัวอักษรอื่น ๆ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ทุกเพศสภาพ ซึ่งแต่ละตัวอักษรนั้นหมายถึงอัตลักษณ์ทางเพศที่ต่างกัน ดังนี้

LGBTQIAN+ flag
  • Lesbian – นิยมใช้สื่อถึงเพศหญิงที่มีความรัก ความชอบพอ ทั้งทางอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจให้กับเพศหญิงด้วยกัน ซึ่งบางคนอาจจะสบายใจที่จะใช้คำว่า “Gay” หรือ “Gay Woman” มากกว่า ก็สื่อได้เช่นกัน
  • Gay – นิยมใช้สื่อถึงเพศชายที่มีความรัก ความชอบพอ ทั้งทางอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจให้แก่เพศชายด้วยกัน แต่โดยทั่วไปแล้วคำนี้สามารถใช้สื่อถึงเพศที่ชอบเพศเดียวกันกับตนได้ทั้งหมด (เช่น Gay Man, Gay Woman) แต่มักจะพบการใช้ถึง ชาย-ชาย มากกว่า
  • Bisexual – มักสื่อถึงบุคคลที่มีความรัก ความชอบพอ ทั้งทางอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ ให้กับผู้ที่มีเพศเดียวกัน หรือผู้ที่มีเพศต่างจากตน
  • Transgender – ในขณะที่คำอื่นอาจจะบ่งบอกถึงความชอบของแต่ละคนในจิตใจ แต่คำนี้แตกต่างด้วยการสื่อถึง “รูปลักษณ์ภายนอก” คำนี้ให้ความหมายถึงบุคคลที่มีความพึงพอใจต่อเพศสภาพของตนที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด เช่น ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศจากชาย ไปสู่หญิง หรือจากหญิง ไปสู่ชาย อย่างไรก็ตามคำนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศเท่านั้น แต่เป็นความหมายสำหรับใครก็ตามที่ “ข้ามเพศ” จากที่ตนเองมีอยู่ ไปสู่เพศสภาพที่เขาสบายใจที่สุด
  • Queer – คำว่า “Queer” เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้ครอบคลุมกับอัตลักษณ์ทางเพศคำอื่น ๆ เพราะบางครั้งการเรียกตนเองว่าเลสเบี้ยน เกย์ หรืออื่น ๆ ก็ดูจะจำกัดเกินไป “Queer” จึงเป็นอีกหนึ่งคำที่เปรียบเสมือนร่มคันใหญ่ที่ทอดเงาไปยังคำอื่น ๆ ในกลุ่มด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นในบางที่ ตัวอักษร “Q” ยังสามารถหมายถึง “Questioning” ซึ่งมีความหมายตรงตัวก็คือกลุ่มที่คนที่ยังรู้สึกว่า ตัวเองยังคงตั้งคำถามกับความชอบและรสนิยมของตนเอง เป็นช่วงที่กำลังตั้งคำถามหรือค้นหาตนเองอยู่
  • Intersex – คำนี้สื่อถึงบุคคลที่เกิดมาพร้อมกับอวัยวะเพศ หรือระบบสืบพันธุ์ที่ไม่ตรงกับหมวดหมู่เพศชายหรือหญิงทั่วไป บางครั้งอาจมีการผ่าตัดเพื่อปรับเพศของเด็กทารกที่เป็น intersex ให้เข้ากับมาตรฐานเพศชาย หรือหญิง แต่การผ่าตัดนั้นไม่ได้กำหนดเพศที่เขาเป็น จนเป็นที่พูดคุยกันเรื่องประเด็นทางจริยธรรม เกี่ยวกับการรักษาทางการแพทย์ที่ไม่จำเป็นกับเด็ก Intersex ไม่ใช่ปัญหาทางการแพทย์ แต่เป็นความผันแปรของธรรมชาติ
  • Asexual – บุคคลที่ไม่ฝักใจทางเพศ คือผู้ที่ไม่มีความสนใจหรือความรู้สึกรักทางเพศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความหลากหลายของความรู้สึกและอัตลักษณ์ทางเพศ บางคนอาจไม่รู้สึกรักใคร่แบบชู้สาว ในขณะที่บางคนก็อาจมี  คนที่ไม่ฝักใจทางเพศบางคนเลือกใช้ชีวิตโสดและไม่สนใจในเรื่องการมีคู่ครอง แต่ในเวลาเดียวกัน บางคนก็เลือกที่จะมีความสัมพันธ์ที่เรียกว่า ‘เควียร์พลาโทนิก รีเลชันชิป’ (queerplatonic relationship) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ความรู้สึกเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้ง โดยไม่มีเรื่องเพศหรือความรู้สึกรักแบบชู้สาวเข้ามาเกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างคนต่างเพศ คนเพศเดียวกัน หรือรักได้ทั้งสองเพศ.
  • Non-Binary – ใช้สื่อถึงบุคคลที่ไม่คิดว่าตัวเอง เป็นเพศชายหรือเพศหญิง เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายความหลากหลายของอัตลักษณ์และการแสดงออกทางเพศที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในเพศชายหรือเพศหญิงเท่านั้น 

ส่วนสัญลักษณ์สุดท้ายในกลุ่มคำนี้คือ เครื่องหมาย “+” ใช้สื่อถึงเพศอื่น ๆ ทั้งหมดที่ไม่ได้ปรากฎอยู่ในตัวอักษร 5 ตัวแรกนั่นเอง ถึงแม้ว่าชื่อเรียกของกลุ่มจะมีหลากหลายแตกต่างกันไปตามอัตลักษณ์ของคนแต่กลุ่ม แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่าการจดจำชื่อเรียก คือการที่เราเข้าใจและยอมรับความหลากหลายที่มีอยู่อย่างแท้จริง 🙂

Pride month

เราอาจพูดได้ว่าเรื่องของเพศหรือรสนิยมทางเพศเป็นเรื่องที่ไม่มีขอบเขต แม้มนุษย์จะพยายามศึกษาและเขียนตำราวิชาการมากมาย สุดท้ายเราก็ยังค้นพบด้านใหม่ ๆ ของเรื่องราวเหล่านี้อยู่ดี การหาคำนิยาม พยายามตีกรอบหรือจัดแบ่งคนอยู่เป็นหมวดหมู่จึงเป็นเรื่องถกเถียงกันอย่างไม่สิ้นสุด จะดีกว่าไหม ? หากเราเรียนรู้ที่จะยอมรับคุณค่าซึ่งกันและกันในแบบที่เขาเป็น เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงออกต่อกันได้อย่างเท่าเทียมมากขึ้น ให้ทุกคนได้เป็นตัวตนอย่างสบายใจ ไม่ต้องถูกใครตัดสินว่าสิ่งที่เขาเป็น “ถูกหรือผิด” “ปกติหรือแปลกแยก” ส่วนใครที่กำลังรู้สึกว่าเราต้องเผชิญกับความไม่สบายใจ รู้สึกกดดันจากสภาพสังคมและความสับสนที่ก่อเกิดขึ้นในจิตใจ จนทำให้คุณรู้สึกอยากคุยกับใครสักคนที่พร้อมรับฟังละก็ สามารถทักมาหาอูก้าได้เสมอเลยนะคะ เพราะทีมนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมที่จะรับฟังทุกปัญหาใจแน่นอน ไม่ว่าจะเพศไหนก็คุยได้

เพราะเรื่องของใจ ไม่ว่าจะเพศไหนเราก็รับฟัง ❤️🧡💛💚💙💜

แชร์บทความนี้ ให้คนที่ห่วงใย

OOCA
OOCA
บทความด้านสุขภาพจิตหลากหลายด้าน เป็นคลังความรู้ให้คุณได้อ่านและพร้อมรับมือกับทุกปัญหา
สนใจปรึกษานักจิตวิทยา
แบบนั่งคุยจากที่บ้าน
ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลย
อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ!
แอดเลย Line Official
อกหัก ให้นักจิตวิทยาฮีลใจ

ให้นักจิตวิทยาฮีลใจ ในวันที่อกหักต้องมูฟออนต่อไปโดยไม่มีเขา

จริงอยู่ที่หลายๆ ความเศร้าหลังอกหักจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถ มูฟออน หรือก้าวออกมาจากความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้ด้วยตัวเอง

เสริมสุขภาพจิตด้วยความกตัญญูกตเวที

เสริมสุขภาพจิตด้วยความกตัญญูกตเวที เพิ่มพลังให้ชีวิตดีขึ้น

ยิ่งให้ยิ่งได้! พลังแห่งความกตัญญูกตเวที (Gratitude) ช่วยเยียวยาสุขภาพจิตได้อย่างไร? มาเริ่มต้นเปลี่ยนชีวิต ด้วยความรู้สึกขอบคุณกันเถอะ

Stockholm Syndrome

Stockholm Syndrome: อาการเห็นใจหรือมีความรู้สึกดี ๆ กับคนร้าย

มีด้วยเหรอ?! อาการเห็นใจหรือมีความรู้สึกดี ๆ กับคนร้าย ที่กระทำสิ่งไม่ดีต่อเรา อูก้าขอตอบเลยว่า “มีแน่นอน” ซึ่งอาการนี้มีชื่อเรียกว่า “Stockholm Syndrome”

ขอบคุณที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากเรา

อูก้า เรื่องของใจ ให้เรารับฟัง

ooca It’s okay we’ll listen