
1. ความขัดแย้ง

2. ความเหินห่าง
ความเหินห่างมีด้วยกันสองความหมาย ความหมายแรกคือการที่ต้องห่างกันจริงๆตรงตามตัวอักษรเช่น พ่อกับแม่อยู่ต่างจังหวัดแต่เราทำงานที่กรุงเทพ หรือ ลูกเข้ามหาลัยแล้วต้องไปอยู่หอ ไม่ค่อยได้กลับบ้าน
ความหมายที่สองคือความรู้สึกเหินห่างทางด้านอารมณ์ เป็นเรื่องแปลกแต่จริง บางครอบครัวเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว มีแค่แม่กับลูกสองคนทว่าสองแม่ลูกคู่นี้กลับไม่รู้สึกเหินห่างหรือรู้สึกขาดอะไรในชีวิต บางครอบครัวมีครบพ่อแม่ลูกในบ้านหลังใหญ่แต่กลับรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนอยู่คนเดียว
การมีเวลาให้กันและกันเป็นตัวช่วยที่จะขจัดความเหินห่างทางอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม เพียงแค่กิจกรรมเล็กๆเช่นการได้กินข้าวพร้อมกัน ได้พูดคุยและรับรู้สารทุกข์สุกดิบของกันและกันก็เพียงพอแล้ว บางครอบครัวอาจไม่มีเวลาว่างที่จะได้เจอกันทุกวัน ก็อาจตกลงกันเป็นอาทิตย์ละวัน หรือ เดือนละ 2 วันก็ตามสะดวก สิ่งสำคัญคือการได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพนั่นเอง (แต่ถ้าปริมาณได้ด้วยก็ยิ่งดีเลยนะ)

3. เรื่องเงิน
เงินทองเป็นของนอกกาย ไม่ตายก็หาใหม่ได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ขอมีให้อุ่นใจ เรื่องเงินเป็นคำตอบอันดับต้นๆของปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว หัวหน้าครอบครัวต้องคอยแบกภาระของครอบครัวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ไหนจะค่าเทอมและค่าขนมลูกอีกต่างหาก
จะแบกมากแบกน้อยเท่าไรก็ตาม แค่ได้ยินคำว่าแบกก็ทำให้เหน็ดเหนื่อยทั้งกายและใจกันจนแทบจะยืนไม่ไหว เด็กหลายคนที่อยากเรียนในที่ดีๆ มีคุณภาพ ไปเรียนพิเศษ หรือซื้อของที่ช่วยต่อเติมความฝันก็ทำไม่ได้ ปัญหาการเงินได้ตัดโอกาสในชีวิตไปหลายอย่างและเป็นต้นเหตุของความทุกข์ใจในหลายๆเรื่อง
หากจะให้หาคำแนะนำทางด้านการเงินมันก็คงจะไม่ใช่อูก้า เบื้องต้นที่พอจะแนะนำเพื่อนๆได้ก็คือการเข้าใจและการยอมรับนั่นเอง เข้าใจและยอมรับว่าเรามีข้อจำกัดด้านการเงินอย่างไรบ้าง หากเรามีหนี้สินเยอะ เราก็ต้องลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ไม่ฝืนทำอะไรเกินตัว อยู่อย่างพอเพียง และหาหนทางกันต่อไป
ครอบครัวที่ดี อบอุ่น เต็มไปด้วยความรักและความห่วงใยจะช่วยให้เรามีรากฐานในชีวิตที่ดี มีสุขภาพจิตแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่ออุปสรรคในชีวิตที่แข็งแกร่ง แม้จะเหนื่อยล้าจากโลกภายนอกเพียงใด ถ้ากลับบ้านไปแล้วได้เจอกับความอบอุ่นใจที่บ้าน เหนื่อยให้ตายก็หายแน่นอน