ทำยังไง ? เมื่อบ้านไม่เคยเป็นเซฟโซน และครอบครัวไม่เคยเซฟใจ

ทำยังไง? เปลี่ยนบ้านให้เป็นเซฟโซนและครอบครัวให้เซฟใจ ค้นพบวิธีที่จะปกป้องคุณและครอบครัวในสถานการณ์ไม่คาดฝัน
เมื่อบ้านไม่เคยเป็นเซฟโซน

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

วันที่เหนื่อยล้าเราก็อยากพาตัวเองกลับบ้าน เพราะมีครอบครัวที่พร้อมจะเป็นเซฟโซน (Safe zone) ให้เราพึ่งพิงแต่สำหรับใครอีกหลายคน ที่ที่เรียกว่า “บ้าน” อาจไม่ได้ให้ความรู้สึกแบบนั้น และ “ครอบครัว” อาจฟังดูหนักแน่นเพียงแค่ชื่อ แต่กลับเปราะบางทางความรู้สึก เพราะนอกจากจะไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยแล้ว ยังทำให้รู้สึกเครียด กดดันและสับสนยิ่งกว่าเดิม

เซฟโซนที่หายไป …

การจะสร้างบ้านให้เป็นเซฟโซนสำหรับคนในครอบครัว ต้องเริ่มจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หากเรารู้สึกเหมือนมีช่องว่างกับครอบครัว ขัดแย้งในการแสดงความคิดเห็น โยนคำพูดร้าย ๆ ใส่กัน ไปจนถึงลดทอนความมั่นใจกัน “มีแต่ติ ไม่เคยชม” นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึกไม่ปลอดภัยกับบรรยากาศตึงเครียดในบ้าน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นนาน ๆ การทำร้ายทางอารมณ์นี้จะกลายเป็นความเครียดกดทับใจ

ความหนักอึ้งในใจเป็นสัญญาณว่านี่คือรูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship) บางครอบครัวอาจหลีกเลี่ยงการปะทะ ขณะที่บางคนกลับใช้วิธีโต้ตอบรุนแรง จนเครียดและอ่อนล้าไปทั้งกายใจกับคำว่า “ครอบครัว”

เพราะ “ความรุนแรง” ในครอบครัว ไม่ใช่แค่บาดแผลที่มองเห็นด้วยตา

มีงานวิจัยยืนยันว่าธรรมชาติของมนุษย์เราจะพยายามกักเก็บ “ความก้าวร้าว” ไว้ภายใน แต่เลือกปลดปล่อยออกมากับครอบครัว ราวกับเป็นเรื่อง “ปกติ” เช่น การแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ชักสีหน้า พูดจาประชดประชัน เป็นต้น และน่าเป็นห่วงที่ทุกคนไม่รู้ว่า สิ่งที่ทำนับเป็นความรุนแรงทางใจ รวมถึงกำลังกัดเซาะความสัมพันธ์ในครอบครับให้เกิดรอยร้าวทีละเล็กละน้อย

พฤติกรรมที่เป็นพิษเหล่านี้เองที่เปลี่ยนเซฟโซนให้กลายเป็นพื้นที่ไม่สบายใจ แม้จะมีสมาชิกเพียงคนเดียวที่เป็นพิษแต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำลายภาพรวมของครอบครัว เพราะพฤติกรรมของหนึ่งส่งผลกระทบต่อการสร้างบุคลิกภาพหรือลักษณะตัวตนของคนรอบข้างด้วย

ในวันที่เราติดหลุมปัญหา (struggle) รู้สึกเครียด หรือสับสนกับการค้นหาอัตลักษณ์ (Identity) และการรับรู้คุณค่าในตนเอง (Self-esteem) เราจะเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยการแรงสนับสนุนทั้งด้านอารมณ์ (Emotional support) และทางสังคม (Social support) จากคนที่รักเรา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงครอบครัวเป็นอันดับแรก แต่ถ้าเรารับรู้แล้วว่าครอบครัวไม่ใช่พื้นที่ตรงนั้นสำหรับเราล่ะ ? เราจะรู้สึกว่าแตกสลายแค่ไหน ?

ปัญหาครอบครัว Safezone

‘โดดเดี่ยวและว่างเปล่า’ เมื่อมองไปในบ้านไม่เห็นเซฟโซน และยิ่งแตกสลายมากขึ้น ในวันที่ครอบครัวไม่เซฟใจกัน

เราเครียดและเป็นทุกข์เมื่อถูกคุกคามพื้นที่ปลอดภัย โดนทำร้ายจิตใจจากคนนอกบ้านก็ว่าหนักแล้ว แต่ยิ่งเจ็บมากขึ้นไปอีกเมื่อครอบครัวหรือคนใกล้ตัวทำร้ายเรา Anita Vangelisti ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสในออสตินกล่าวว่า “ความเจ็บปวดคืออาการบาดเจ็บทางอารมณ์ซึ่งอาจเกิดจากการสื่อสาร และการทำร้ายจิตใจในครอบครัว (Family hurt) นั้นเจ็บปวดเป็นพิเศษด้วยเหตุผลบางอย่าง” หลัก ๆ เลย คือ

 

  1. ความเชื่อที่ว่า “ครอบครัว” รักเราโดยไม่มีเงื่อนไข คนส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ยึดถือมานานว่าสมาชิกในครอบครัวคือคนที่จะข้างเรา (Be there) อย่างไม่มีเงื่อนไข เรียกว่าสายใยในครอบครัวได้สร้างความผูกพันตั้งแต่เราเกิดมาโดยปริยาย เมื่อสิ่งที่เข้ามากระทบใจมีสาเหตุมาจากการกระทำหรือคำพูดของคนในครอบครัว ความรู้สึกเราจึงเหมือนถูกดึงขึ้นดึงลงไปด้วย แม้คนอื่นจะทำร้ายเราในลักษณะเดียวกันแต่เราจะรู้สึกว่าบาดแผลจากครอบครัวนั้นรุนแรงกว่ามาก
  2. ความทรงจำในบ้านถูกนำมาใช้ทำร้ายกัน สมาชิกในครอบครัวที่ใช้เวลาร่วมกันหลายเดือนหลายปี บางคนก็เทียบเท่าอายุปัจจุบัน เราต่างมีเรื่องราวมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องน่าอาย ตลกขบขันในวัยเด็ก ประวัติที่ผิดพลาด จุดด้อยที่อยากปกปิดและอีกมากมาย ใครจะรู้ว่าคนในครอบครัวจะล้อเลียนในเรื่องที่เราไม่ชอบซ้ำ ๆ ตอกย้ำบาดแผลเดิมอยู่บ่อย ๆ ยิ่งคิดจะลบก็ยิ่งเครียด กลายเป็นคนในครอบครัวนั่นเองที่ข้ามเส้นมาภายใต้คำอ้างว่า “ไม่เห็นเป็นไร คนในครอบครัวทั้งนั้น”
  3. ครอบครัวเดียวกัน ไม่ต้องเกรงใจ ? สมาชิกในครอบครัวมักจะพึ่งพาอาศัยกันในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการสนับสนุน คำแนะนำและการเงิน แถมคนในบ้านยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนทางอารมณ์ (Emotionally invested) ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเวลาที่เราระเบิดอารมณ์ฟูมฟาย เราคาดหวังว่าคนในครอบครัวจะเป็นเซฟโซนเหมือนที่เราโอบกอดพวกเขา ในใจเผลอคิดไปว่าถ้าเราทำบางสิ่งจะได้รับการตอบสนองบางอย่างกลับมา จนกลายเป็นวังวนที่ทำให้เครียดและเจ็บปวดมากกว่าความสัมพันธ์แบบอื่น ๆ
  4. เจ็บแค่ไหนก็ยังวนเวียน ถ้าใครทำให้เราเจ็บเราก็พร้อมจะถอยห่าง ยิ่งถ้าขยับความสัมพันธ์เข้ามาเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ยิ่งตัดยาก แล้วแบบนี้เราจะผลักครอบครัวออกไปได้ไกลแค่ไหนในวันที่พวกเขาทำให้เราเจ็บ ? ห่างเหินชั่วคราวสุดท้ายก็เหมือนวนกลับมาสู่บาดแผลเดิม เรื่องเดิม ๆ ก็ขุดมาตอกย้ำกันอีก ทำให้เราเหนื่อย เครียด หรือโมโหจนแทบบ้า แล้วเราก็ได้แต่บอกตัวเองให้กลั้นใจลืมมันไป ทั้งที่ใจเราไม่เคยจะชิน
สร้างครอบครัวเป็นเซฟโซน

‘เซฟโซน’ ไม่ใช่แค่พื้นที่ แต่คือความรู้สึกที่ต้องสร้างไปด้วยกัน

ในหลายครอบครัวการสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” หรือเซฟโซนสำหรับสมาชิกทุกคนในบ้านอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย ไม่ว่าสมาชิกในครอบครัวแต่ละคนจะมีบทบาทไหน ปัญหาเรื่องพฤติกรรม ความไว้วางใจ และความใส่ใจก็เกิดได้กับทุกครอบครัว

Courtney Pullen ให้คำแนะนำในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของครอบครัวว่า “ความเป็นครอบครัวคือการมองเห็นความสำคัญในการรักษารูปแบบและบรรทัดฐานของบ้านไว้ ครอบครัวต้องใช้เวลาและพลังอย่างมากในการลงทุนเพื่อทำความฝันและความต้องการของคนในบ้านให้ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับที่ครอบครัวทำในการสร้างค่านิยมและตั้งเป้าหมายร่วมกัน”

Roy Kozupsky ทนายความด้านธุรกิจครอบครัวที่มีชื่อเสียงในนิวยอร์กบอกว่า “ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จไม่เพียงแต่รักษาความมั่นคงและแบบแผนของพวกเขาได้ แต่ยังมีหลายสิ่งที่เหมือนกัน คือ ความรู้สึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของครอบครัว และความรู้สึกร่วมกันต่อความมั่นคงของครอบครัวและวิธีปฏิบัติตัวต่อคนอื่น ๆ”

ถึงบาดแผลจะไม่หายไป แต่เยียวยาได้ด้วยความรู้สึก

แม้การสร้างเซฟโซนในพื้นที่ที่เคยแตกสลายจะเป็นเรื่องยาก แต่สมาชิกในบ้านสามารถช่วยขจัดสิ่งที่เป็นพิษได้ เริ่มต้นจากวิธีดังต่อไปนี้

  1. รับทราบปัญหาร่วมกัน อย่าลืมมาว่าเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกปลอดภัยในบ้านของเราเอง การปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใดก็ตามย่อมมีอุปสรรค มีสิ่งที่เราไม่ชอบ มีคนที่ทำให้เราทุกข์ จนกลายเป็นความเครียดที่เกิดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ สิ่งสำคัญคือเราต้องตระหนักถึงสถานการณ์ในบ้าน ความไม่ปกติต่าง ๆ ปัญหาที่เรามองเห็นและไม่เห็น อะไรที่อันตรายต่อความรู้สึก ต้นตอของความเครียด หากไม่ได้มองปัญหาให้ชัดเจน การจะหาทางแก้ไขหรือสร้างเซฟโซนก็คงเป็นเรื่องยากอยู่ดี
  2. จัดการสิ่งที่เป็นพิษ เริ่มจัดการกับสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่ปลอดภัยหรือที่กระตุ้นอารมณ์ลบ ๆ อย่างจริงจัง เราอาจรู้สึกหงุดหงิด เครียด โกรธ หรือเหนื่อยล้าในเวลาที่ต่อสู้กับอะไรสักอย่าง เป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกกลัว ละอาย หรือกังวลว่าคนอื่นจะมีท่าทีอย่างไรเมื่อเราบอกถึงปัญหาในครอบครัว แต่หัวใจของเราที่แบกความเจ็บปวดจะไม่มีวันหายถ้าเราไม่แก้ไขมัน
  3. คุยกับใครสักคน เราเป็นแค่มนุษย์ธรรมดาที่เจ็บได้ร้องไห้เป็น ถ้าเราเริ่มรู้สึกว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เราเครียด ความสัมพันธ์แย่จนเกินรับไว้ ลองรวบรวมความกล้าบอกใครสักคนที่ไว้ใจเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น เราอาจอยากพูดออกไปว่าเราเกลียดคนที่เราเรียกว่า “ครอบครัว” และอาจมีคนมากมายที่ไม่เข้าใจจุดนี้ แต่การพูดคุยและปล่อยภาระในใจก็ช่วยเราได้มาก เพียงแค่เราต้องเลือกคนที่จะมาเป็นเซฟโซนให้ใจเราดูบ้างสักคนเท่านั้นก็พอ
  4. รับการช่วยเหลือจากมืออาชีพ ไม่ผิดเลยถ้าบางอย่างในชีวิตนั้นอยู่เหนือการควบคุมของเรา การเอาความสำเร็จหรือล้มเหลวไปผูกกับปมปัญหาในชีวิต มีแต่ทำให้เครียด เครียด แล้วก็เครียด ! รู้ตัวอีกที สุขภาพจิตก็ถดถอยไปมาก นั่นเป็นจุดที่เราต้องจริงจังกับการหันกลับมาเป็นเซฟโซนให้ตัวเอง สิ่งที่อูก้าย้ำอยู่เสมอ คือ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่พร้อมช่วยเรารับมือกับสถานการณ์และจัดการกับอารมณ์ ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางมากมายในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพใจทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

“ใจเราต้องมีเซฟโซนเป็นของตัวเอง”

ไม่ใช่ทุกครอบครัวจะเป็นเซฟโซนได้ และนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของคุณหรือความโชคร้ายของใคร เพราะสุขภาพใจของทุกคนในครอบครัวและตัวเราสำคัญมาก เพราะปัญหาครอบครัวนั้นซับซ้อนและเป็นปัญหาต้น ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดสะสม วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ เราจึงต้องให้นักจิตวิทยาและจิตแพทย์เข้ามาช่วยดูแล

 

#อูก้ามีทางออก #จิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

 

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีไว้คอยดูแลใจทุกคนมากกว่า 90 ท่าน สามารถพูดคุยปรึกษาได้ผ่านรูปแบบของวิดีโอคอล รองรับทั้ง iOS และ Android สะดวกทุกที่ทุกเวลา ทั้งเป็นส่วนตัวและไม่ต้องเดินทาง เลือกผู้เชี่ยวชาญและเลือกช่วงเวลาที่ต้องการได้ตามใจคุณ

ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้ายินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจและพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คุณเสมอ อย่าลืมนะว่าเราสามารถปกป้องตัวเองได้เท่าที่เราต้องการ เริ่มจากการสร้างเซฟโซนในใจเพื่อตัวเราเองกันเถอะ

อ้างอิง: psychologytoday.com

แชร์บทความนี้ ให้คนที่ห่วงใย

OOCA
OOCA
บทความด้านสุขภาพจิตหลากหลายด้าน เป็นคลังความรู้ให้คุณได้อ่านและพร้อมรับมือกับทุกปัญหา
สนใจปรึกษานักจิตวิทยา
แบบนั่งคุยจากที่บ้าน
ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลย
อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ!
แอดเลย Line Official
Toxic parents not Safe zone

เมื่อครอบครัวไม่ใช่ Safe zone การเข้าใจและการรับมือกับพฤติกรรม Toxic parents

คุณไม่ได้ยืนคนเดียว: สุขภาพจิตของคุณเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เข้าใจวิธีรับมือกับ Toxic parents จากครอบครัวที่ไม่เป็น Safe Zone

วิธีโน้มน้าวคนใกล้ชิดไปพบจิตแพทย์

วิธีโน้มน้าวคนใกล้ชิดไปพบจิตแพทย์

วิธีการสื่อสาร วิธีโน้มน้าวคนใกล้ชิดไปพบจิตแพทย์ และความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิต ในการช่วยเหลือคนที่เรารัก ไปสู่การรับการตรวจและรักษาอย่างถูกวิธี

สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

วิธีการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปัญหาสุขภาพจิตที่ผิดปกติได้ การเข้าใจและการสนับสนุนจากครอบครัวและคนใกล้ชิดสามารถช่วยหาทางแก้ไขเพื่อมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้

ขอบคุณที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากเรา

อูก้า เรื่องของใจ ให้เรารับฟัง

ooca It’s okay we’ll listen

ฟีเจอร์ใหม่มาแรง! 💊 ปรึกษาจิตแพทย์ผ่านอูก้า รับยาที่บ้านได้แล้ววันนี้

ฟีเจอร์ใหม่มาแรง! 💊

ปรึกษาจิตแพทย์ผ่านอูก้า รับยาที่บ้านได้แล้ววันนี้