สังคมของการทำงาน เป็นสังคมที่รวบรวมผู้คนจากหลายเจเนอเรชั่นไว้ในพื้นที่เดียวกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลแต่ละคน จะมีความเห็นต่างกันในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง “การเมือง” หลายคนมองว่าไม่ควรที่จะพูดเรื่องการเมืองในที่ทำงาน แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีอีกมุมมองนึงที่มองว่า การพูดคุยเรื่องการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดทัศนคติ และการตัดสินใจ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนทุกคน

จิตวิทยาการพูดคุยเรื่องการเลือกตั้งในที่ทำงาน
ยิ่งเข้าใกล้วันเลือกตั้งมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูเหมือนว่าจะมีบรรยากาศอันร้อนแรง ในพื้นที่ทำงานมากขึ้นทุกที ซึ่งอาจทำให้หลายๆคนเกิดความเครียด เกิดความอึดอัด จากสถานการณ์นี้ได้ ซึ่งความรู้สึกนี้อูก้าขอยืนยันว่า คุณไม่ได้รู้สึกเพียงคนเดียวแน่นอน
เพราะจากการสำรวจในปี 2019 พบว่า 56% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ มีความรู้สึก “เครียด” เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 52% จากในปี 2016 ตามการสำรวจประจำปีโดย American Psychological Association นอกจากนี้รายงานฉบับเดียวกันยังพบว่า
- จำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐฯ กล่าวว่า พวกเขาต้องการอัปเดตข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งอยู่เสมอ แต่การเสพข่าวมากเกินไป กลับทำให้เกิดความเครียดมากกว่าเดิม
- 56% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดกล่าวว่า พวกเขาคิดว่าการเลือกตั้งของอเมริกาในปี 2020 นี้ อยู่ในระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ตัวเลขดังกล่าวสูงขึ้นในกลุ่มผู้ใหญ่ผิวดำ และผู้ที่มีเชื้อสายสเปน (72% และ 58%) และในกลุ่มผู้หญิง (60% ฝั่งผู้ชายคิดเป็น 52%)
- ผู้ที่นิยมชมชอบในพรรค Democrats 71% , พรรค independents 53%, พรรค Republicans 48% กล่าวว่าการเลือกตั้งในปี 2020 เป็นสาเหตุหลักของความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
Jon Krosnick, Ph.D, นักจิตวิทยาสังคม, ศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยจิตวิทยาการเมือง แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกล่าวว่า การที่หลาย ๆ คนมักมีอารมณ์ที่ไม่ดีจากการพูดคุยเรื่องการเมือง มาจากสิ่งที่เรียกว่า “การมีส่วนร่วมทางอารมณ์” ซึ่งมักจะเกิดมาจาก “ความกลัวและความคับข้องใจ” ยกตัวอย่างเช่น การไม่เห็นด้วยการนโยบายบางข้อของพรรคใด พรรคหนึ่ง หรือนโยบายของบางพรรค ไม่เห็นความสำคัญต่อพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชน แต่กลับชูนโยบายที่เอื้อต่อนายทุน หรือผู้ที่มีเงินมากกว่า เป็นต้น

เคล็ดลับการสร้างความเข้าใจ ในการพูดคุยเรื่องการเมืองในที่ทำงาน
อูก้าจะมาแนะนำการสร้างความเข้าใจ ที่เกี่ยวกับเรื่องการพูดคุยเรื่องการเมืองในที่ทำงานให้เพิ่มมากขึ้นกันค่ะ ซึ่งการทำความเข้าใจ การรับฟัง การเปิดกว้าง จะทำให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้อารมณ์ส่วนตัวน้อยลง และมีความเข้าอกเข้าใจต่อผู้อื่นมากขึ้น ถึงแม้ว่าในหลาย ๆ เรื่องคุณก็อาจจะไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานคนอื่น แต่อูก้าหวังว่าเทคนิคนี้จะช่วยลดแรงปะทะ และไม่ทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์ระหว่างที่ทำงาน ที่มาจากการพูดคุยเรื่องการเมืองค่ะ
- การฟังอย่างตั้งใจ: การฟังอย่างตั้งใจ จัดเป็นกุญแจสำคัญในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นการฟังที่ให้ความสนใจกับสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูด เพื่อทำให้เข้าใจในมุมมองของผู้พูดได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
- ความเห็นอกเห็นใจ: สิ่งสำคัญคือการมีความเห็นอกเห็นใจและเปิดใจ พยายามเข้าใจว่าแนวคิด ความเชื่อ ของอีกฝ่ายมาจากไหน และทำไมพวกเขาถึงเชื่ออย่างนั้น สิ่งนี้จะสามารถช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และความเคารพซึ่งกันและกันได้มากขึ้นค่ะ
- ใช้ภาษาและคำพูดที่สุภาพ: เมื่อพูดคุยเรื่องการเมือง สิ่งสำคัญคือต้องใช้ภาษาที่ให้เกียรติ แม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับเพื่อนร่วมงานบางคนก็ตาม หลีกเลี่ยงการใช้คำสบประมาท คำหยาบ หรือคำดูถูกเหยียดหยาม และโฟกัสไปที่ประเด็นที่พูดมากกว่าโจมตีบุคคล เพราะสิ่งนี้จะทำให้เกิดรอยร้าวมากขึ้นแน่นอน
- ทำความเข้าใจกับมุมมองที่แตกต่างกัน: สิ่งสำคัญคือต้องคุณตระหนักว่า ทุก ๆ คนล้วนมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันซึ่งเป็นตัวกำหนดความเชื่อทางการเมืองของแต่ละคน การยอมรับมุมมองที่แตกต่างกันเหล่านี้ จะช่วยทำให้เกิดการสนทนาที่เปิดกว้างมากขึ้น
หรือสุดท้ายแล้วถ้าคุณพยายามเปิดกว้างต่อมุมมองและทัศนคติทางการเมือง ของเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ แล้ว แต่ก็ยังเกิดการใช้อารมณ์มากกว่าการใช้เหตุและผล อู้ก้าขอแนะนำว่าสิ่งที่คุณต้องทำต่อมาก็คือ หลีกเลี่ยงการสนทนาเรื่องการเมืองกับเพื่อนร่วมงานคนนั้นไปเลย เพื่อป้องกันไม่ทำให้เกิดอารมณ์ในแง่ลบต่อการทำงาน ไม่ทำให้เกิดความร้าวฉานในที่ทำงาน จนกระทั่งทำให้เกิดบรรยากาศมาคุ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ด้วย
หรือสุดท้ายแล้วถ้าคุณพยายามเปิดกว้างต่อมุมมองและทัศนคติทางการเมือง ของเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ แล้ว แต่ก็ยังเกิดการใช้อารมณ์มากกว่าการใช้เหตุและผล อู้ก้าขอแนะนำว่าสิ่งที่คุณต้องทำต่อมาก็คือ หลีกเลี่ยงการสนทนาเรื่องการเมืองกับเพื่อนร่วมงานคนนั้นไปเลย เพื่อป้องกันไม่ทำให้เกิดอารมณ์ในแง่ลบต่อการทำงาน ไม่ทำให้เกิดความร้าวฉานในที่ทำงาน จนกระทั่งทำให้เกิดบรรยากาศมาคุ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ด้วยกำลังหรือทางด้านวาจาตามมา เพียงเท่านี้ทุกคนก็จะสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยนี้ได้ค่ะ
แหล่งที่มา: goodhousekeeping.com