อายุที่มากขึ้น นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของชีวิตในหลาย ๆ ด้าน ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในบางด้านจะน่าตื่นเต้นและมีความหมาย แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็เต็มไปด้วยความท้าทาย ผู้สูงอายุอาจต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางอารมณ์ หรือสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความเหงา ปัญหาทางกาย หรือปัญหาชีวิตในด้านอื่น ๆ ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตในช่วงบั้นปลายก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
และผู้สูงอายุยังอาจมีความเสี่ยง ในการพบปัญหาสุขภาพจิตที่ผิดปกติอีกด้วย ทำให้สุขภาพจิตของผู้สูงวัยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่โดยรวม และสิ่งดี ๆ ที่ลูก ๆ หลาน ๆ สามารถทำให้ผู้สูงอายุได้ ก็คือการทำ “ความเข้าใจ” เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และหาทางแก้ไขเพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั่นเองค่ะ
1. เหงาใจ...ให้ลองเข้าสังคม
“ความเหงา” เป็นหนึ่งในอาการทางใจพบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ และความเหงาที่ถาโถมมาก ๆ เข้า จะส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างรุนแรง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ดังนั้นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ คือ การไปเข้าสังคมบ้าง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ผู้สูงวัยได้
สำหรับการเข้าสังคมนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นการเข้าสังคมกับลูก ๆ หลาน ๆ เพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้งลูก ๆ หลาน ๆ ก็อาจจะติดภารกิจหรือมีการทำงาน ดังนั้นการมองหาสังคมที่หลากหลายเข้าไว้ก็สามารถช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมผู้สูงอายุแถวบ้าน เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายที่สวนสาธารณะแถวบ้าน เป็นต้น
2. อาสาสมัคร ช่วยฮีลใจ
หนึ่งในอารมณ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกห่อเหี่ยวมากที่สุดก็คือ ความรู้สึกอยู่ไปวัน ๆ ไม่มีเป้าหมายอะไร ดังนั้นการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครจะทำให้ผู้สูงอายุมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น ช่วยลดความซึมเศร้าได้ดี เช่น การไปเป็นอาสาสมัครในโรงอาหาร โรงพยาบาล โรงเรียน หรือองค์กรอื่น ๆ ในท้องถิ่น สิ่งนี้จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง และมีเป้าหมายในชีวิต ซึ่งเป็นกุญแจสู่สุขภาพจิตที่ดี
นอกจากจะเป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการเข้าสังคมแล้ว ก็ยังเป็นโอกาสที่ผู้สูงอายุจะได้เคลื่อนไหวร่างกาย และทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้นในแต่ละวัน เป็นการออกกำลังกายแบบเบา ๆ ไปในตัว
3. อย่าปล่อยให้สมองฟ่อ มาเล่นเกมกันดีกว่า
4. การออกกำลังกาย ดีต่อทั้งกายและใจ
การออกกำลังกายเป็นวิธีในรักษาสุขภาพจิตที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในทุกช่วงอายุ การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ดีต่อหัวใจ ข้อต่อ และกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอีกด้วย การออกกำลังกายสามารถลดอาการซึมเศร้า บรรเทาความวิตกกังวล และทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้
ระบบการทำงานในร่างกายของผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายนับวัน ๆ ก็จะมีการเสื่อมถอยลงไปทุกทีแต่ผู้สูงอายุที่พยายามออกกำลังกาย และจัดระเบียบให้มีความกระฉับกระเฉง ก็จะมีความแข็งแรงอยู่ แม้จะมีอายุที่มากขึ้นแล้วก็ตาม
การออกกำลังกายของผู้สูงอายุนั้นก็มีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโยคะ การรำไทเก๊ก การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือแม้แต่การออกกำลังกายแบบบอดี้เวท แต่การออกกำลังกายแบบที่มีแรงต้าน อาจจะต้องมีความระมัดระวังสักนิด ไม่ควรที่จะยกน้ำหนักเยอะจนเกินไป หรือไม่เล่นท่าที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากจนเกินไปนัก
5. ดูแลลูกรักขนปุย ทำให้เกิดเป้าหมายในชีวิต
การลูบคลำสัตว์ช่วยลดความเครียด และคลายความวิตกกังวลได้ และการมีสัตว์เลี้ยง จะช่วยเพิ่มความหมายในการใช้ชีวิตประจำวันให้กับผู้สูงอายุ ถ้าผู้สูงอายุในบ้านของคุณเป็นคนที่รักสัตว์เลี้ยงอยู่แล้ว ก็อาจจะลองหาสัตว์เช่น สุนัขหรือแมวมาให้ผู้สูงอายุเลี้ยงเพื่อทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ไม่ทำให้รู้สึกเหงา และการหาสัตว์เลี้ยงมาให้ผู้สูงอายุดูแลนั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินซื้อหามาก็ได้ อาจจะรับเลี้ยงสัตว์ด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์สัตว์ต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน
ผู้สูงอายุก็เป็นอีกช่วงวัยนึงที่จะต้องได้รับการใส่ใจดูแลทั้งในเรื่องของสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยเฉพาะสุขภาพจิตที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากคนที่อาจจะเคยมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตทุกวัน ได้ทำงาน ได้เจอสังคม ได้ทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ แต่แล้วจู่ ๆ วันหนึ่งเมื่อถึงวัยเกษียณ สิ่งเหล่านั้นก็มลายหายไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการดูแลสุขภาพใจให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุข ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งคนในครอบครัวและตัวผู้สูงอายุเอง จะต้องพยายามหาทางแก้ปัญหาและทำให้ชีวิตที่ดำเนินต่อไปนั้นมีความหมายและมีความสุขมากที่สุด และถ้าวันนี้คุณอยากได้คำแนะนำเพิ่มเติม อย่าลืมให้อูก้าได้ช่วยดูแลนะคะ