ให้นักจิตวิทยาฮีลใจ ในวันที่อกหักต้องมูฟออนต่อไปโดยไม่มีเขา

จริงอยู่ที่หลายๆ ความเศร้าหลังอกหักจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถ มูฟออน หรือก้าวออกมาจากความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้ด้วยตัวเอง
อกหัก ให้นักจิตวิทยาฮีลใจ

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

ผลวิจัยจากอาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2021 ระบุว่าประชากรกว่า 80% เคย “อกหัก” มาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต! เพราะอาการอกหักเป็นเรื่องปกติที่มักตามมาหลังพบเจอรักที่ไม่สมหวังแบบนี้ 

คนเราเลยอาจคิดว่า “แค่อกหักไม่จำเป็นต้องถึงมือนักจิตวิทยาหรอก” หรือ “อกหักเดี๋ยวก็หายเองได้” จริงอยู่ที่ในหลาย ๆ ครั้ง ความเศร้าหลังอกหักจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีเพื่อน ๆ อีกหลายคนที่ไม่สามารถ “มูฟออน” หรือก้าวออกมาจากความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้ด้วยตัวเองจนกลายเป็นปัญหาสะสมในระยะยาว เพราะฉะนั้นแล้ว เพื่อน ๆ ที่กำลังรู้สึกอกหักอยู่ หากนานไปแล้วยังไม่รู้สึกดีขึ้น อูก้าไม่อยากให้นิ่งนอนใจนะ!

สภาวะ “อกหัก” คืออะไรกันแน่

เวลาคนเราสูญเสียคนที่เรารัก ก็ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความรู้สึกเศร้าตามมา ความรู้สึกเศร้าหลังอกหักนั้นเกิดจากการที่สมองสั่งไม่ให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่เราอาจคุ้น ๆ ชื่อกันดีออกมา ไม่ว่าจะเป็น เซโรโทนิน โดพามีน หรือเอ็นโดรฟิน ในทางกลับกันยังผลิตสารแห่งความเครียดอย่าง “คอร์ติซอล” ออกมาแทนที่เป็นจำนวนมาก สารแห่งความเครียดนี้นอกจากจะทำให้รู้สึกเศร้าแล้ว ยังก่อให้เกิดความผันผวนทางอารมณ์ตามมาอีกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความสับสน ความกังวลใจ หรือกระทั่งความต้องการกลับไปคืนดีกับคนรักที่เลิกกันมา ทั้งหมดนี้คืออารมณ์ที่คนที่ตกอยู่ในสภาวะอกหักมักพบเจอ เราจึงอาจรู้สึกว่าตัวเองเอาแต่วนเวียนอยู่กับอารมณ์เหล่านี้จนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน และไม่สามารถเอาตัวเองออกมาจากความเศร้าได้
สภาวะ “อกหัก”

นักจิตวิทยาสามารถช่วยเราจากสภาวะอกหักได้อย่างไรบ้าง

เมื่อสังเกตตัวเองได้ว่ารู้สึกอกหักแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น การได้พูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกที่อัดอั้นออกมาให้ผู้อื่นฟังจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะการเก็บความทุกข์ไว้กับตัวเองนั้นอาจส่งผลให้เพื่อนๆ คิดมากและเกิดผลเสียกับสุขภาพจิตมากกว่าเดิม นอกจากการเล่าเรื่องราวให้เพื่อนและครอบครัวฟังแล้ว การอธิบายความรู้สึกไม่ดีในใจให้นักจิตวิทยาฟังก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี อูก้าอยากให้เพื่อน ๆ มองนักจิตวิทยาเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปลอดภัยที่พร้อมจะร่วมทำความเข้าใจกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังเกิดสภาวะอกหักไปด้วยกัน อีกทั้งยังสามารถเสนอวิธีรับมือกับความรู้สึกเศร้าดังกล่าวได้อย่างเชี่ยวชาญ รวมไปถึงคอยไกด์แนวทางการมูฟออนจากสภาวะอกหักได้อีกด้วย คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปฯ อูก้า กล่าวว่า เมื่อเพื่อนๆ ตัดสินใจมาพูดคุยกับนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาจะช่วยเพื่อนๆ สำรวจตัวเองและปัญหาผ่าน 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  1. ความเข้าใจกับสภาพจิตใจของตัวเอง – ในเบื้องต้นนักจิตวิทยาจะช่วยซักถามให้เพื่อนๆ ได้สำรวจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง เพื่อดูว่าเรารู้สึกเศร้าจากสภาวะอกหักมากน้อยแค่ไหน และตอบสนองต่อความเศร้านั้นอย่างไรบ้าง
  2. ทำความเข้าใจกับสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา – ต่อมานักจิตวิทยาจะชวนมองย้อนไปยังปัญหาและสาเหตุของปัญหา ซึ่งจะช่วยให้เพื่อนๆ ยอมรับสภาพของปัญหา และนำไปสู่การรับมือกับสภาวะอกหักได้ดีขึ้น
  3. ทบทวนสถานการณ์ความรักและหาทางออก – ในตอนท้าย นักจิตวิทยาจะช่วยประเมินและพิจารณาทางเลือกที่เกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์จบลง ว่าเหมาะสมกับสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องการหรือไม่ และส่งผลดีต่อสภาพจิตใจของเพื่อนๆ หรือไม่ เพื่อสร้างกำลังใจให้สามารถมูฟออนต่อไปได้

 

ทั้งนี้ คุณกอบุญยังได้เน้นย้ำว่า การให้คำปรึกษาจะเป็นแบบ Client-centered หรือให้ความสำคัญกับผู้ที่มาปรึกษาเป็นหลัก ตามนโยบายของอูก้า กล่าวง่ายๆ คือ บทบาทของนักจิตวิทยาจะเป็นเหมือน “เพื่อนคู่คิด” ที่คอยชวนเพื่อนๆ ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยกันประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด โดยคำนึกถึงความสบายใจ ความสามารถ และความต้องการของเพื่อนๆ เป็นหลัก

สุดท้ายนี้ คุณกอบุญยังได้กล่าวให้กำลังใจเพื่อน ๆ ที่กำลังอกหักว่า การหาคนพูดคุยด้วยเกี่ยวกับสภาวะอกหักไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย เนื่องจากคนเราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เป็นปกติอยู่แล้ว สภาวะอกหักก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่นักจิตวิทยาพร้อมรับฟังและเสนอแนวทางที่จะช่วยให้เพื่อนๆ มูฟออนต่อไปได้ และที่สำคัญ นักจิตวิทยาจะทำงานโดยยึดจรรยาบรรณและความเป็นส่วนตัวของเพื่อนๆ เป็นหลัก เพราะฉะนั้น อูก้าจึงอยากให้เพื่อนๆ รู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่จะเข้ามาพูดคุยกับนักจิตวิทยานะ

เพราะการได้ระบายความรู้สึกด้านลบในใจออกมาให้ใครสักคนฟัง นอกจากจะช่วยรับฟังเรื่องความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้แล้ว ยังสามารถช่วยต่อยอดโครงสร้างความคิดที่เหมาะสมต่อการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ของเพื่อน ๆ ได้ด้วย อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ!

อ้างอิง: psychologytoday.com

แชร์บทความนี้ ให้คนที่ห่วงใย

OOCA
OOCA
บทความด้านสุขภาพจิตหลากหลายด้าน เป็นคลังความรู้ให้คุณได้อ่านและพร้อมรับมือกับทุกปัญหา
สนใจปรึกษานักจิตวิทยา
แบบนั่งคุยจากที่บ้าน
ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลย
อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ!
แอดเลย Line Official
เสริมสุขภาพจิตด้วยความกตัญญูกตเวที

เสริมสุขภาพจิตด้วยความกตัญญูกตเวที เพิ่มพลังให้ชีวิตดีขึ้น

ยิ่งให้ยิ่งได้! พลังแห่งความกตัญญูกตเวที (Gratitude) ช่วยเยียวยาสุขภาพจิตได้อย่างไร? มาเริ่มต้นเปลี่ยนชีวิต ด้วยความรู้สึกขอบคุณกันเถอะ

Stockholm Syndrome

Stockholm Syndrome: อาการเห็นใจหรือมีความรู้สึกดี ๆ กับคนร้าย

มีด้วยเหรอ?! อาการเห็นใจหรือมีความรู้สึกดี ๆ กับคนร้าย ที่กระทำสิ่งไม่ดีต่อเรา อูก้าขอตอบเลยว่า “มีแน่นอน” ซึ่งอาการนี้มีชื่อเรียกว่า “Stockholm Syndrome”

ขอบคุณที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากเรา

อูก้า เรื่องของใจ ให้เรารับฟัง

ooca It’s okay we’ll listen