ไบโพลาร์ (Bipolar) คืออะไร : ทำความเข้าใจและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

เข้าใจโรคไบโพลาร์ (Bipolar) และสาเหตุ คำอธิบายที่ช่วยเข้าใจอาการและการเกิดของโรคไบโพลาร์อย่างเป็นรายละเอียด
ไบโพลาร์ (Bipolar) คืออะไร

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

โรคไบโพลาร์ (Bipolar) อีกหนึ่งปัญหาทางใจ ที่หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่าอาการที่แท้จริงของโรคนี้มาจากอะไรกันแน่ วันนี้อูก้าก็ได้นำสาระความรู้มาฝากกันอีกเช่นเคย เดิมทีโรคนี้ถูกเรียกว่า Manic depression ซึ่งเป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่ทำให้ผู้ป่วยกเกิดอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง ซึ่งจะมี 2 ขั้นอารมณ์ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น ช่วงอารมณ์ขึ้นสูง (Mania or hypomania) และช่วงตกต่ำ (Depression)

ไบโพลาร์ (Bipolar) กับ 2 ขั้วอารมณ์ ที่คุณต้องทำความรู้จัก

เมื่อคุณรู้สึกหดหู่ใจ (Depression) คุณอาจรู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง และสูญเสียความสนใจหรือไม่มีความสุขกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่เมื่ออารมณ์ของคุณเปลี่ยนไปและเข้าสู่ขั้ว Mania or hypomania คุณจะรู้สึกร่าเริง เต็มไปด้วยพลัง หรือหงุดหงิดผิดปกติ ก็ได้ อารมณ์แปรปรวนเหล่านี้อาจส่งผลต่อการนอนหลับ พลังงานในการใช้ชีวิต การทำกิจกรรมต่าง ๆ และกระทบต่อความสามารถในการคิดอย่างชัดเจน

ประเภทของโรคอารมณ์ 2 ขั้ว

โรคอารมณ์ 2 ขั้ว แท้จริงแล้วมีหลายประเภท ซึ่งอาการต่าง ๆ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ ส่งผลทำให้เกิดความทุกข์ และความยากลำบากในชีวิตอย่างมาก ซึ่งอูก้าก็ได้นำประเภทของโรคอารมณ์ 2 ขั้วที่พบได้บ่อยมาแนะนำกัน

  • โรคไบโพลาร์ I พบอาการคลุ้มคลั่งอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังภาวะซึมเศร้าก็ได้ ในบางกรณีอาการคลุ้มคลั่งที่เกิดขึ้น อาจทำให้ความคิดถูกตัดขาดจากโลกความเป็นจริง (โรคจิต)
  • โรคไบโพลาร์ II พบอาการซึมเศร้าอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ไม่เคยมีอาการคลุ้มคลั่งมาก่อน
  • ความผิดปกติของ Cyclothymic อาการ hypomania จะพบอาการซึมเศร้าอย่างน้อย 1 – 2 ปีในเด็กและวัยรุ่น (แต่อาการจะรุนแรงน้อยกว่าภาวะซึมเศร้า)
 
ส่วนอาการประเภทอื่น ๆ อาจมาจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกิดจากการใช้ยาหรือแอลกอฮอล์บางชนิด หรือกิดจากสภาวะความผิดปกติทางการแพทย์ เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้โรคไบโพลาร์ II ไม่ได้มีความรุนแรงไปมากกว่าโรคไบโพลาร์ I แต่เป็นการวินิจฉัยแยกต่างหาก แม้ว่าอาการคลั่งไคล้ของโรคไบโพลาร์ I อาจรุนแรงและเป็นอันตราย แต่บุคคลที่เป็นโรคไบโพลาร์ II มักจะมีอาการซึมเศร้าเป็นระยะเวลานามากกว่า
 
แม้ว่าโรคไบโพลาร์สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะได้รับการวินิจฉัยในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงวัยอายุ 20 ต้น ๆ ทั้งนี้อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาการอาจแตกต่างกันไปตามระยะเวลา

ทำความรู้จักกับภาวะ Mania และ hypomania

ภาวะ Mania และ hypomania จะเป็นภาวะที่มีอาการเหมือนกัน แต่ภาวะ Mania จะมีความรุนแรงมากกว่าภาวะ hypomania และทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนกว่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ การทำงาน การเรียน และกิจกรรมทางสังคม ตลอดจนอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ และถ้านำไปสู่การแยกระหว่างความจริงและเรื่องเพ้อฝันไม่ออก ก็จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การสังเกตภาวะ Mania และ hypomania สามารถทำได้ โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 3 อาการขึ้นไป

  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีความมั่นใจในตนเองที่เกินจริง
  • การนอนหลับลดลง
  • พูดเก่งผิดปกติ
  • มีความฟุ้งซ่าน
  • ตัดสินใจไปกับเรื่องต่าง ๆ ได้ไม่ดี เช่น ตัดสินใจลงทุนไปกับบางอย่างโดยที่ไม่คิดให้ดีเสียก่อน

ทำความรู้จักกับภาวะ ซึมเศร้า (Depression)

อาการซึมเศร้า เป็นอีกหนึ่งอาการที่ทำให้การทำกิจกรรมในแต่ละวันลำบากอย่างเห็นได้ชัด เช่น การไปทำงาน การไปโรงเรียน การเข้ากิจกรรมทางสังคม หรือมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยสังเกตได้ถ้ามีอาการมากกว่า 5 อย่างนี้ปรากฎขึ้นมา 

  • มีอารมณ์ซึมเศร้า เช่น รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า สิ้นหวัง หรือน้ำตาไหล (ในเด็กและวัยรุ่น อารมณ์ซึมเศร้าอาจปรากฏเป็นความหงุดหงิด)
  • หมดความสนใจหรือไม่มีความสุขในกิจกรรมทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด
  • น้ำหนักลดอย่างมาก เพราะไม่อยากทานอาหาร หรือน้ำหนักขึ้นอย่างมาก เพราะกินแบบไม่หยุด หรือความอยากอาหารลดลงหรือเพิ่มขึ้นสลับกันไป
  • นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
  • กระวนกระวายใจหรือมีพฤติกรรมเชื่องช้า
  • มีความเหนื่อยล้าหรือรู้สึกสูญเสียพลังงาน
  • มีความรู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินไป
  • ความสามารถในการคิดหรือมีสมาธิลดลง
  • คิดวางแผนหรือพยายามฆ่าตัวตาย

อาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงภาวะโรคไบโพลาร์

นอกเหนือไปจากอาการที่อูก้าได้กล่าวมาในข้างต้น สัญญาณและอาการของโรคไบโพลาร์ 1 และไบโพลาร์ 2 อาจรวมถึงลักษณะอื่น ๆ ด้วย เช่น มีความวิตกกังวล เศร้าโศก โรคจิต หรืออื่น ๆ ระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้นสามารถสลับกันไปได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้อาการไบโพลาร์อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

เมื่อไหร่ถึงควรไปพบแพทย์?

ถึงแม้จะมีอารมณ์สุดขั้ว แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ก็มักจะไม่รู้สึกว่าตนเองผิดปกติอะไร จึงทำให้ไม่ได้สนใจในสิ่งที่เกิดขึ้น และก็ไม่ได้เข้ารับการรักษา นอกจากนี้หลาย ๆ อาจจะรู้สึกเพลิดเพลินไปกับความรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ และมีพลังในการทำงานอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น (ในยามที่สมองกำลังเข้าสู่ช่วง Mania และ hypomania) แต่อย่างไรก็ตาม ความอิ่มอกอิ่มใจนี้มักตามมาด้วยความหดหู่ทางอารมณ์ เหนื่อยล้า ซึ่งเป็นขั้วตรงข้ามของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นช่วงที่ทำให้คุณรู้สึกแย่มาก

คำแนะนำจากอูก้า คือ หากคุณมีอาการซึมเศร้าหรือคลุ้มคลั่งมากจนเกินพอดี แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพราะโรคไบโพลาร์ไม่สามารถดีขึ้นเองได้ ดังนั้นการเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ จะสามารถทำให้คุณควบคุมอาการได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิธีการรักษาที่หลากหลายเลยทีเดียว และคุณจะได้กลับมามีอารมณ์ที่ปกติ ได้เป็นตัวเองอย่างมั่นใจ และไม่ว่าชีวิตจะส่งบททดสอบอะไรมาให้ ขอให้คุณมั่นใจไว้นะว่าคุณจะผ่านไปได้เสมอ

อ้างอิง: mayoclinic.org

แชร์บทความนี้ ให้คนที่ห่วงใย

OOCA
OOCA
บทความด้านสุขภาพจิตหลากหลายด้าน เป็นคลังความรู้ให้คุณได้อ่านและพร้อมรับมือกับทุกปัญหา
สนใจปรึกษานักจิตวิทยา
แบบนั่งคุยจากที่บ้าน
ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลย
อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ!
แอดเลย Line Official
Psychopaths

โรคไซโคพาธ (Psychopaths) เข้าใจอาการ และสิ่งที่ต้องระวัง

ค้นหาความรู้เกี่ยวกับโรคไซโคพาธ Psychopaths: อาการ, ลักษณะเฉพาะ, และวิธีการระมัดระวังเมื่อต้องเผชิญกับผู้ที่มีสภาวะนี้ในชีวิตประจำวันของคุณ

คุยกับคนที่คุณรักที่เป็นโรคซึมเศร้า

วิธีในการพูดคุยกับคนที่คุณรักที่เป็นโรคซึมเศร้า

พูดคุยเพื่อสนับสนุนผู้ที่เผชิญกับโรคซึมเศร้าด้วยความอบอุ่นและเข้าใจ สร้างความหวังและช่วยให้รู้ว่าไม่เคยโดดเดี่ยวในความรู้สึก

ภาวะสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้นคืออะไร ทำความรู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิด และแนวทางรักษา

ค้นพบความรู้เกี่ยวกับภาวะสมาธิสั้น: ทำความเข้าใจและสาเหตุที่เป็นต้นเหตุของโรคทางประสาทในเด็กและผู้ใหญ่ และแนวทางในการรักษา

ขอบคุณที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากเรา

อูก้า เรื่องของใจ ให้เรารับฟัง

ooca It’s okay we’ll listen