5 วิธีในการจัดการกับความกังวลในการทำงาน

เรียนรู้ 5 วิธีในการจัดการกับความกังวลในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเคล็ดลับสำหรับการรับมือในสภาพแวดล้อมการทำงานของคุณ
จัดการกับความกังวลในการทำงาน

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

“ความวิตกกังวล” เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยที่สุดในที่ทำงาน ความวิตกนี้สามารถส่งผลกระทบต่อคุณได้อย่างมากเลยทีเดียว สภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นอีกหนึ่งแหล่งเพาะพันธุ์ความเครียดที่สำคัญ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรควิตกกังวล ซึ่งวันนี้อูก้าจะชวนคนวัยทำงานมาทำความรู้จักกับความกังวลที่เกิดขึ้นในการทำงานที่มักพบบ่อย ๆ กัน และจะมาแนะนำ 5 วิธีในการจัดการกับความกังวลเหล่านี้อีกด้วย เพื่อการทำงานที่มีความสุข มีการหาเงินได้อย่างราบรื่น และยกระดับการใช้ชีวิตของคนวัยทำงานที่มีคุณภาพค่ะ

ความกังวลในการทำงาน ที่พบได้บ่อย

ก่อนอื่นเลยอูก้าจะมาแนะนำความวิตกกังวลในที่ทำงานที่พบได้บ่อยกัน คุณกำลังประสบกับอาการเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งหรือไม่? 

  • โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD): เป็นความกังวลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายมาเป็นความวิตกกังวลมากเกินไป ส่วนใหญ่จะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน การปฏิบัติงาน หรือความมั่นคงในหน้าที่การงาน
  • อาการวิตกกังวลทางสังคม: ภาวะกลัวการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือการพูดในที่สาธารณะ ซึ่งอาจเป็นเรื่องท้าทายในการทำงาน โดยเฉพาะในระหว่างการประชุม การนำเสนองาน และอื่น ๆ 
  • ความวิตกกังวลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ต้องการความสมบูรณ์แบบ: มีความกลัวที่การทำงานจะไม่เป็นไปตามความคาดหวัง หรือกลัวว่าจะทำผลงานได้ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่การเกิดความเครียดและความกดดันในการทำงานที่เพิ่มขึ้น
  • ความกังวลที่มาจากความสัมพันธ์: เกิดความขัดแย้งในที่ทำงานกับเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชา จนทำให้เกิดบรรยากาศที่ตึงเครียดและทำให้เกิดความวิตกกังวลได้

และความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ ตามมา ได้แก่

  • มีกังวลมากเกินไป
  • มีความเหนื่อยล้าสะสม
  • เกิดหงุดหงิดบ่อย ๆ 
  • มีอาการ PANIC 
  • เกิดความหวาดระแวง
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน 
  • ส่งผลกระทบการนอนหลับ
 

และความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน หรือในพื้นที่ของการทำงานที่มากล้นมากจนเกินไป สามารถก่อให้เกิดปัญหาทางกายภาพได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็น 

  • มีอาการเจ็บหน้าอก
  • ท้องเสีย หรือปวดท้องอย่างมาก
  • ปวดศีรษะ
  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ร่างกายสั่นควบคุมไม่ได้ 
  • มีอาการหายใจถี่
  • เหงื่อออก

ผลเสียของความวิตกกังวลจากการทำงาน ไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตการทำงานเท่านั้น

เมื่อเกิดภาวะความวิตกกังวล เกิดความเครียด หรือเกิดความตื่นตระหนกอย่างมากแล้ว สิ่งเหล่านี้คุณจะไม่สามารถควบคุมให้เกิดความเครียดอยู่แต่ภายในพื้นที่การทำงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น 

  • เกิดความเครียดจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ไม่อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมประจำวันตามปกติ
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย หรืออาการทางจิตอื่น ๆ
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อความทุกข์ทางร่างกาย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก เจ็บหน้าอก เป็นต้น
  • มีความเสี่ยงในการตัดสินใจ และการสื่อสารที่ไม่ดี

5 วิธีแก้ไข! จัดการความวิตกกังวลจากการทำงาน

อย่าปล่อยให้ความวิตกกังวลที่มาจากพื้นที่ของการทำงานควบคุมจิตใจของคุณ เพราะอูก้าได้นำวิธีเเก้ไขปัญหามาแนะนำแล้ว

1. ใส่ใจกับอาการที่เกิดขึ้น

การทำความเข้าใจกับอาการวิตกกังวล และรับรู้ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นกับสมองหรือร่างกาย จะทำให้คุณนำข้อมูลในส่วนนี้ไปประมวลผลและหาทางแก้ไขได้ดีขึ้น พยายามจับความรู้สึกทุกครั้งว่าคุณรู้สึกยังไงเมื่อเกิดความกังวล เช่น

  • หายใจไม่ออก
  • มีเหงื่อออกมาก
  • มีความกลัวจนควบคุมไม่ได้
  • มีทัศนคติเชิงลบ
  • และอื่น ๆ
 

2. มองหาคนที่คุณไว้ใจได้

ให้คุณเล่าอาการที่เกิดขึ้นให้คนที่คุณไว้ใจฟัง อูก้าขอเน้นย้ำว่าจะต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้จริง ๆ เท่านั้น ต้องเป็นคนที่เปิดกว้าง มีทัศนคติในแง่บวก มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะถ้าคุณนำเรื่องเหล่านี้ไปปรึกษาผิดคน อาจจะทำให้สิ่งที่คุณประสบพบเจอนั้นแย่ลงกว่าเดิม และเมื่อคุณมองหาคนที่คุณไว้ใจได้แล้ว ให้เล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบถ้วนทุกรายละเอียด เพื่อเป็นการระบายความเครียด และในขณะเดียวกัน คนที่คุณไว้ใจก็จะได้ร่วมช่วยคุณหาทางออก

3.กำหนดตารางเวลาในการทำงาน

คุณอาจจะมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำงานให้เสร็จ หากคุณเผื่อเวลาไว้มากพอ ดังนั้นอูก้าขอแนะนำว่าให้คุณจัดการเวลาให้ดี ซึ่งจะทำให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ถูกกดดันเรื่องเวลาและทำให้เกิดความเครียด ซึ่งก็จะช่วยลดความกังวลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้กับคุณได้อีกเรื่องหนึ่ง

4. ชื่นชมตัวเองเมื่อทำงานได้ดี

หันกลับมาดูแลใจของตัวเองบ้างให้คุณชื่นชมตัวเองเมื่อคุณทำงานได้ดี ให้รางวัลตัวเองบ้างและหาความสุขในระหว่างการทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแม้จะเป็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็สามารถสร้างสุขในใจได้อย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียว

5. คิดบวกเข้าไว้

การมองโลกในแง่ดีเป็นประจำ จะทำให้คุณมีทัศนคติเชิงบวกจนติดเป็นนิสัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำงานให้แก่คุณได้และในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความวิตกกังวลของคุณได้เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามถ้าคุณพยายามปรับตัว และหาวิธีการขจัดความกังวลที่มาจากการทำงานแล้วแต่ก็ยังไม่เวิร์ก อย่าลืมว่าอูก้าสามารถเป็นเพื่อนที่ดีให้กับคุณอีกคนหนึ่งได้ สามารถให้ความรู้ ให้คำปรึกษาอย่างถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการจัดการอารมณ์ และจัดการความวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยฟื้นคืนความสุขให้กับคุณ และทำให้คุณมีวันที่สดใสมากกว่าเดิม

แชร์บทความนี้ ให้คนที่ห่วงใย

OOCA
OOCA
บทความด้านสุขภาพจิตหลากหลายด้าน เป็นคลังความรู้ให้คุณได้อ่านและพร้อมรับมือกับทุกปัญหา
สนใจปรึกษานักจิตวิทยา
แบบนั่งคุยจากที่บ้าน
ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลย
อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ!
แอดเลย Line Official
Work life harmony

Work life harmony เคล็ดลับในการบรรลุความสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิต

อ่านเคล็ดลับ Work life harmony เพื่อบรรลุความสมดุลระหว่างงานและชีวิต! พบเทคนิคที่จะทำให้คุณทำงานได้เต็มที่ โดยไม่ละเลยคุณภาพชีวิต

ช่องว่างระหว่างวัยในที่ทำงาน

ช่องว่างระหว่างวัยในที่ทำงาน: การเข้าใจและการสื่อสารอย่างเหมาะสม

เข้าใจและสื่อสารได้อย่างเหมาะสมในช่องว่างระหว่างวัยในที่ทำงาน! เรียนรู้เคล็ดลับเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความสำเร็จในการทำงานได้ทันที!

EAP (Employee Assistance Program)

วันนี้คุณดูแลใจพนักงานของคุณหรือยัง EAP (Employee Assistance Program)

ค้นพบทางออกที่ดีที่สุดสำหรับพนักงานที่มีความสุข และมีประสิทธิผลมากขึ้น ปลดล็อกสิทธิประโยชน์ของโปรแกรม Employee Assistance Program ของเราวันนี้!

ขอบคุณที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากเรา

อูก้า เรื่องของใจ ให้เรารับฟัง

ooca It’s okay we’ll listen