อายุอาจเป็นเพียงตัวเลขก็จริงเมื่อมองในมุมมองในแง่บวก แบบ Forever Young แต่เมื่อพูดถึงอายุในความหลากหลาย ในการทำงาน อายุกลับมีความสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะในอีกมุมมองหนึ่ง อายุที่มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ ความเชื่อ ทัศนคติบางอย่าง ที่แตกต่าง จากคนที่มีอายุน้อยกว่า และอาจก่อให้เกิด Generation Gap หรือความต่างระหว่างวัยได้ ซึ่งก็อาจส่งปัญหาทำให้เกิดผลกระทบต่อบรรยากาศในที่ทำงาน หรือทำให้เกิดปัญหาในการทำงานขึ้นมาอย่างจริงจังมากเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทัศนคติที่ไม่ตรงกันกัน ไม่เปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน มองว่าอีกฝ่ายที่มีอายุมากกว่า โบราณคร่ำครึหรือผู้ใหญ่ก็จะมองเด็กว่ายังมีประสบการณ์น้อยอ่อนต่อโลก ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วทุกคนต่างก็มีประสบการณ์และความรู้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ดังนั้นวันนี้อูก้าจะมาแนะนำ การอุดช่องว่างที่อาจทำให้เกิดปัญหานี้ ด้วยการทำความเข้าใจและการสื่อสารอย่างเหมาะสมกันค่ะ
ความแตกต่างของอายุ สามารถนำไปสู่การสื่อสารที่ผิดพลาดได้
พนักงานกลุ่มที่มีอายุมากกว่า และอายุน้อยกว่า อาจจะมีการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนผิดพลาดและไม่เข้าใจกันได้ เพราะมีการใช้ มุมมองของภาษาที่แตกต่างกัน พนักงานอายุน้อยอาจมีการใช้ภาษาที่คนรุ่นเก่าไม่เข้าใจ เช่น การใช้ศัพท์วัยรุ่น หรือทำแสลง แต่ถึงกระนั้นก็เป็นหน้าที่ขององค์กร ที่จะทำให้พนักงานทุกคนจากทุกช่วงวัย สามารถปรับตัวเข้าหากันได้อย่างกลมกลืน
เพราะทางองค์กรจะคาดหวังให้พนักงานอายุน้อยปรับตัวเข้าหาพนักงานที่มีอายุมากกว่าฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ หรือจะสนับสนุนให้พนักงานกลุ่มที่มีอายุมากกว่า สนับสนุนพนักงานที่อายุน้อยกว่าก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ทั้ง 2 ช่วงวัยหรือในหลาย ๆ ช่วงวัยจะต้องพยายามต่างปรับตัวเข้าหากัน เพื่อหาจุดกึ่งกลางที่สมดุล ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกเหนื่อยมากจนเกินไป
ช่องว่างระหว่างวัยอุดได้ ด้วยการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
อูก้าได้นำวิธีอุดช่องว่างระหว่างวัยด้วยการสื่อสารมาฝากกัน เพราะการสื่อสารเป็นรากฐานที่สำคัญของมนุษย์ ทำให้เราเข้าใจซึ่งกันและกันได้อย่างเต็มที่ โดยเทคนิคการสื่อสารที่อู้ก้านำมาฝากกันนี้ จะต้องได้รับความร่วมมือของทุก ๆ ฝ่าย เพื่อสร้างสรรค์การทำงานที่มีความสุข และคนทุกช่วงวัยต่างเข้าใจกันและกันนั่นเองค่ะ
- เชื่อมช่องว่างระหว่างวัย: ส่งเสริมความร่วมมือคนระหว่างรุ่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างโอกาสให้พนักงานในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้ทำงานร่วมกันในโครงการหรือความคิดริเริ่มต่าง ๆ ก่อให้เกิดการสื่อสาร สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามรุ่น และช่วยทลายกำแพงที่อาจมีอคติต่อกัน
- การให้คำปรึกษาและการให้คำปรึกษาแบบย้อนกลับ: พนักงานที่มีอายุมากกว่าสามารถแบ่งปันภูมิปัญญา และประสบการณ์กับเพื่อนร่วมงานที่อายุน้อยกว่า ในขณะที่พนักงานที่อายุน้อยกว่าสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีล่าสุด ในการทำงาน การให้คำปรึกษาแบบซึ่งกันและกันนี้ ช่วยส่งเสริมการเติบโตทางวิชาชีพ ส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างช่วงอายุ เป็นการสื่อสารที่มีค่า
- มีความยืดหยุ่น: ตระหนักว่าคนรุ่นต่าง ๆ อาจมีรูปแบบการทำงาน ความต้องการ และลำดับความสำคัญที่แตกต่างกัน และต้องสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ให้กับพนักงานในกลุ่มอายุต่าง ๆ อย่างเหมาะสม สามารถถกเพื่อหาความสมดุลร่วมกัน
- ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง: สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาวิชาชีพ เปิดโอกาสให้พนักงานได้รับทักษะใหม่ ๆ จากการ เข้าร่วมการฝึกอบรม หรือเข้าร่วมเวิร์กช็อป สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานทุกคนไม่ว่าจะอายุเท่าใด สามารถปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป และมีความเกี่ยวข้องในสายงานของตนได้แบบเต็มที่
เพราะคนทุกช่วงวัยต่างมีความรู้ที่ต่างกัน
พนักงานที่มีอายุมากกว่าอย่างคนรุ่นมิลเลนเนียลและซูมเมอร์ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวได้ง่ายกว่าและมีความชำนาญด้านเทคโนโลยี ในขณะที่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์และคนรุ่นเจน X มีแนวโน้มที่จะเข้าใจธุรกิจมากกว่า เพราะมีประสบการณ์คร่ำหวอดมามากกว่า ในกรณีนี้บุคคลแต่ละกลุ่มสามารถช่วยทำให้อีกฝ่ายเข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยี หรือปรับปรุงวิธีการทำงานทางธุรกิจให้ดีขึ้นได้
และบริษัทที่มีความหลากหลายทางอายุ จะมีการหมุนเวียนของพนักงานน้อยลง และการจ้างงานพนักงานกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน ยังสามารถช่วยให้บริษัทมีอัตราการลาออกที่ต่ำ และเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน ตัวอย่างเช่น “การศึกษาในปี 2020 ใน Journal of Applied Psychology แสดงให้เห็นว่า การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนทำงานหลายวัยช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้กับเพื่อนร่วมงานทั้งที่มีอายุมากกว่าและอายุน้อยกว่า และเพิ่มความตั้งใจที่จะอยู่กับองค์กรต่อไป” เพราะคนแต่ละรุ่นรู้สึกว่าเป็นการทำงานที่มีค่า เมื่อพวกเขาได้รับโอกาสในการแบ่งปันมุมมองให้กับคนรุ่นที่ต่างกัน
สุดท้ายนี้ไม่ว่าคุณเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนรุ่นเก่าที่ได้อ่านบทความดี ๆ จากอู้ก้าในวันนี้ การปรับตัวเข้าหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หลักการพื้นฐานที่สำคัญคือ การให้ความเคารพไม่ว่าเขาจะมีอายุมากกว่าหรืออายุน้อยกว่าก็ตาม เพราะเราทุกคนต่างก็เป็นมนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้น พูดคุยด้วยความสุภาพ เข้าใจรับฟังอีกฝ่ายด้วยการเปิดใจอย่างเต็มที่ อูก้าเชื่อว่าคุณจะปรับตัวเข้าหาอีกฝ่ายหนึ่ง ได้อย่ากง่ายมากขึ้นมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น สร้างสังคมแห่งการทำงานที่เต็มไปด้วยบุคคลหลายช่วงวัยได้อย่างมีความสุขแน่นอนค่ะ